เคยรู้สึกไหมว่านอนพลิกไปพลิกมาเท่าไรก็นอนไม่หลับ แต่บางคนหัวถึงหมอนก็หลับด้วยความรวดเร็ว คุณรู้ไหมว่า“การนอนไม่หลับ” กำลังเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 20 การนอนไม่หลับเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพต่อร่างกายเรามากกว่าที่คิด ตั้งแต่ปวดศีรษะ เฉื่อยชา รู้สึกไม่สดชื่นร่าเริง หงุดหงิด ขาดสมาธิ จนทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้คนที่นอนไม่หลับยังมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ง่าย บางรายเป็นหนักถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ รวมไปถึงเพิ่มโอกาสเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ไต ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน
การรักษาโรคนอนไม่หลับมีหลากหลายวิธีตั้งแต่การใช้ยารักษาซึ่งมีผลข้างเคียงและก่อให้เกิดการเสพติด ไม่เหมาะสมกับการรักษาในระยะยาว ไปจนถึงวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การสะกดจิต ซึ่งมักจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
“น่าจะมีวิธีที่มีประสิทธิผล เรียบง่ายกว่านี้และใช้ของไม่ไกลจากตัวเรา”
บริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกาคิดค้น “ผ้าห่มชนิดพิเศษ” ที่ใช้หลักการกระจายน้ำหนักแบบกดลึก ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในอ้อมกอดของคนใกล้ชิด ช่วยบำบัดความเครียด นอนหลับสบาย ตื่นมาสดชื่น เป็นอีกวิธีการในการแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับได้อย่างน่าอัศจรรย์
- ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก ทักทอให้มีน้ำหนัก 7-12% ของร่างกายทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนอยู่ในอ้อมกอดอันอบอุ่น และด้วยน้ำหนักของผ้าห่มที่กระจายลงบนร่างกายคล้ายการนวดที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยลดความตึงเครียดคลายความกังวล ส่งผลให้เกิดการหลั่งของสารสื่อประสาท “เซโลนิน” ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด “เมลาโทนิน” ช่วยควบคุมการหลับให้ดีขึ้น และลด “คอร์ติซอล” ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด และเป็นตัวก่อให้เกิดการอักเสบด้วย
- ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก ยังทำให้การเข้าสู่ช่วงหลับลึกไวขึ้นอีกด้วย โดยทำให้รอบ REM (ช่วงการนอนหลับเพื่อเตรียมเข้าสู่การหลับลึก) ลดลง
- ตัวผ้าห่มทำด้วยวัสดุพิเศษที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อน ให้สัมผัสที่นุ่มสบาย
- สามารถเลือกขนาดของผ้าห่มให้เหมาะสมกับน้ำหนักของผู้ใช้งานได้
- จากการทดสอบในผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง พบว่านอนหลับสบายขึ้นเมื่อใช้ผ้าห่มนี้ และยังมีการเคลื่อนไหวขณะนอนหลับลดลงด้วย นอกจากนี้ 78% ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมใช้ผ้าห่มนี้ในการบำบัดมีระดับความตึงเครียดลดลง
- มีการใช้ผ้าห่มที่ใช้น้ำหนักในการบำบัดโรคนอนไม่หลับในผู้ป่วยในโรงพยาบาลมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งให้ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ




